โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง

คลินิกกายอุปกรณ์

บทบาทการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีด้านกายอุปกรณ์

Prosthetics and Orthotics


           งานกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม 2561 โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านกายอุปกรณ์เทียม และกายอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นแก่คนพิการและผู้ป่วย ให้มีการบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ครอบคลุมและรวดเร็ว

หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ใช้กับร่างกาย ในความหมายที่ใช้ในปัจจุบัน มักจะหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ เป็นต้น

หมายถึง การตรวจวัดขนาด ออกแบบ ประดิษฐ์ ผลิต ดัดแปลง แก้ไข ซ่อมแซม อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว ซึ่งงานกายอุปกรณ์ต้องอาศัยทักษะฝีมือและความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะบุคคลค่อนข้างสูง (ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านกายวิภาคประยุกต์ ด้านชีวกลศาสตร์และการเคลื่อนไหวประยุกต์พอสมควร)

เมื่อเห็นคนพิการทุพพลภาพ บ่อยครั้งเรามักมีคำอุทานถึงความ “สมประกอบ” ของร่างกายว่า “โชคดีเท่าไรแล้วที่เกิดมาครบ ๓๒” ซึ่งอวัยวะเหล่านี้เองทำให้กิจวัตรประจำวันตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนเป็นไปอย่างราบรื่น ทว่าถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป หรือเกิดบิดเบี้ยว คดงอ อ่อนแรง เรื่องง่ายๆ อย่างการแปรงฟันก็อาจกลายเป็นเรื่องเข็นครกขึ้นภูเขาในทันที เมื่อเกิดความเจ็บป่วยดังกล่าว แพทย์จะส่งต่อไปยัง “นักกายอุปกรณ์”

เป็นอาชีพที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับแพทย์และพยาบาลด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา โดยทำหน้าที่ฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยที่มีปัญหาสูญเสียอวัยวะหรือมีอวัยวะภายนอกส่วนหนึ่งส่วนใดผิดปกติ โดยพวกทำหน้าที่สร้าง “กายอุปกรณ์เทียม” ทดแทนอวัยวะที่หายไป และสร้าง “กายอุปกรณ์เสริม” ช่วยให้อวัยวะผิดปกติกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

หมายถึง กายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทดแทนอวัยวะหรือชิ้นส่วนของอวัยวะที่ขาดหายไป เช่น ขาเทียม แขนเทียม นิ้วมือเทียม เป็นต้น ในทางกายอุปกรณ์สำหรับแขนขา หมายถึง อุปกรณ์ใดๆก็ตามภายนอกร่างกาย ที่นำมาทดแทนส่วนของระยางค์ (แขน-ขา) ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งไม่เคยมีอยู่เลยหรือขาดหายไป


สำหรับระยางค์ล่าง แบ่งได้เป็น

- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อสะโพก (Hip disarticulation (HD) prosthesis)

- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นขา (Transfemoral (TF) prosthesis)

- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเข่า (Knee disarticulation (KD) prosthesis)

- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกหน้าแข้ง (Transtibial (TT) prosthesis)

- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเท้า (Ankle disarticulation (AD) prosthesis)

- กายอุปกรณ์เทียมทดแทนบางส่วนของเท้า (Partial foot prosthesis)


สำหรับระยางค์ล่าง แบ่งได้เป็น

- แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกปลายแขน (Transradial (TR) prosthesis)

- แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านข้อศอก (Elbow disarticulation (ED) prosthesis)

- แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกต้นแขน (Transhumeral (TH) prosthesis)

นอกจากนี้ สำหรับแขนเทียม ยังสามารถแบ่งตามคุณสมบัติได้แก่

- ประเภทสวยงาม (Cosmetic type) ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนไหวมือเทียม/ข้อมือ/ข้อศอก/ข้อไหล่ได้

- ประเภทใช้งานได้ (Functional type) สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของแขนเทียมได้ตามความต้องการของผู้พิการ โดยยังสามารถแบ่งลงไปได้ตามประเภทของการควบคุมการเคลื่อนไหว คือ

- ควบคุมโดยการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body controlled)

- ควบคุมโดยใช้พลังงานภายนอก (External-power controlled) ซึ่งควบคุมการจ่ายไฟฟ้าด้วยปุ่มสวิตช์กด (Switch controlled) หรือ ตัวรับสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Myoelectric)


คือ กายอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เพื่อเสริมการทำหน้าที่ของอวัยวะที่มีปัญหาในการทำงาน (เช่น อ่อนแรง, เจ็บปวด, เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น) อาจเรียกชื่อสามัญว่า อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ดาม หรือที่ประคอง (Splint หรือ Brace) ก็ได้ ในทางกายอุปกรณ์สำหรับแขนขา หมายถึง อุปกรณ์ใดๆก็ตามภายนอกร่างกาย ที่นำมาดัดแปลงลักษณะโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของระบบประสาท-กล้ามเนื้อ และระบบค้ำจุนร่างกาย (กระดูก-กล้ามเนื้อ) ของร่างกาย

หน้าที่ของกายอุปกรณ์เสริม มีดังนี้่b>

- จำกัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะ

- ช่วยให้มีการเคลื่อนไหวของอวัยวะ

- บรรเทาอาการเจ็บปวด

- ช่วยส่งเสริมให้กระดูกที่หักติดเป็นปกติ

- ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ข้อเคลื่อนหลุด เอ็นฉีกขาด เป็นต้น


มักแบ่งประเภทใหญ่ๆตามอวัยวะที่ใช้เป็น 4 ประเภทได้แก่

- กายอุปกรณ์เสริมสำหรับกระดูกสันหลัง (Spinal orthosis)

- กายอุปกรณ์เสริมสำหรับระยางค์บน (Upper-extremity orthosis)

- กายอุปกรณ์เสริมสำหรับระยางค์ล่าง (Lower-extremity orthosis)

- กายอุปกรณ์เสริมสำหรับเท้า (Foot orthosis) และการดัดแปลงรองเท้า (Shoe modification)


     นอกเหนือจากการให้บริการกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริมดังกล่าวแล้ว งานกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง ได้ดำเนินโครงการออกหน่วยกายอุปกรณ์เชิงรุกเพื่อค้นหาและฟื้นฟูสภาพผู้พิการจากโรคเรื้อน ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ร่วมกับกลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่าย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ และศูนย์โรคเรื้อนที่ 1 ลำปาง เพื่อลงพื้นที่ออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการทางการแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมไปถึงการผลิตกายอุปกรณ์นำร่อง พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเรื้อน (มีความพิการบกพร่องทางร่างกายและทางการเคลื่อนไหว) ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการกลุ่มนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการจากโรคเรื้อนได้รับการดูแลอย่างครบวงจร โดยมีการลงพื้นที่ออกหน่วยทั้งหมด 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และจะพัฒนาโครงการให้ขยายครอบคลุมทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือต่อไป


     ให้บริการในการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพเท้าแบบครบวงจร สำหรับผู้มีปัญหาโรครองช้ำ เท้าชา มีแผลเรื้อรังที่เท้า เสี่ยงต่อการถูกตัดนิ้ว ตัดเท้า ตัดขา ผู้มีปัญหาเท้าผิดรูป เดินแล้วเจ็บเท้า หารองเท้าที่เหมาะสม ใส่ยาก โดยมีการตรวจประเมิน วัดเท้า ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย วิเคราะห์การลงน้ำหนักของเท้าด้วย เครื่อง Foot Pressure Graph และผลิตแผ่นรองในรองเท้าเฉพาะบุคคล (Insoles) รวมถึงการปรับรองเท้า (Shoe modification) เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม



นอกเหนือจากการให้บริการกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริมดังกล่าวแล้ว งานกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง ได้ดำเนินโครงการออกหน่วยกายอุปกรณ์เชิงรุก ดังนี้

     1. โครงการออกหน่วยกายอุปกรณ์เชิงรุกเพื่อค้นหาและฟื้นฟูสภาพผู้พิการจากโรคเรื้อน ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ร่วมกับกลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่าย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ และศูนย์โรคเรื้อนที่ 1 ลำปาง



     2. โครงการออกหน่วยเชิงรุก เพื่อตรวจสุขภาพเท้าและผลิตแผ่นรองในรองเท้าเฉพาะบุคคลแบบ One Stop Service สำหรับเจ้าหน้าที่องค์กรต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ จังหวัดลำปาง



     3. โครงการออกหน่วยเชิงรุก เพื่อตรวจประเมินสุขภาพเท้าสำหรับนักเรียน และบุคลากรภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ ลำปาง



     4. โครงการออกหน่วยเชิงรุก เพื่อผลิตและทดลองกายอุปกรณ์เทียม สำหรับผู้พิการแขน-ขาขาด ในพื้นที่จังหวัดลำปาง



     งานกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทั้งด้านงานบริการและด้านพัฒนาบุคลากร สร้างสรรค์ผลงานวิชาการอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านวิชาการ และสร้างเครือข่ายด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบปัญหาความพิการในภาคเหนือ ให้ได้รับกายอุปกรณ์อย่างครบถ้วน






386 ม.3 ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
+66-5401-9662
+66-5401-9889
vejjarak.vjlh@gmail.com

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมการแพทย์

สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)


บริการเพิ่มเติม

สำหรับเจ้าหน้าที่

คำชม / ข้อเสนอแนะ / ข้อร้องเรียน


ช่องทางการสื่อสาร

© 2562 โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง